ข้อคำนึงก่อนทำสวนดาดฟ้า (Green Roof Preparation)

21
Sep

สวนดาดฟ้าคือะไร?

สวนดาดฟ้า (Green Roof) คือการปลูกต้นไม้บนบริเวณพื้นที่หลังคา ดาดฟ้า หรือพื้นที่ระเบียง โดยมีระบบที่สามารถรองรับชั้นดินและต้นไม้ รวมถึงการช่วยกักเก็บและระบายน้ำอย่างเหมาะสม เพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์

การเตรียมพื้นที่สำหรับสวนดาดฟ้า

ในการเตรียมพื้นที่สำหรับสวนดาดฟ้า สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงมีดังนี้;

  1. พื้นที่ดาดฟ้าและการรับน้ำหนักโครงสร้าง

ในการทำสวนดาดฟ้า โครงสร้างจำเป็นต้องมีการคำนวณการรับน้ำหนักที่เพียงต่อต่อระบบสวนดาดฟ้า ซึ่งปกติระบบสวนดาดฟ้าจะมีด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ ระบบสวนหลังคาเบา (Extensive Green Roof) ระบบนี้จะเน้นการปลูกไม้พุ่มเล็ก หรือไม้คลุมดิน ทำให้ปริมาณดินที่ใช้มีไม่มากนัก ตัวอย่างเช่น ความหนาชั้นดินประมาณ 10 - 30 cm. ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ไม้และความเหมาะสมของหน้างาน ตัวน้ำหนักรวมจะอยู่ที่ประมาณ 80-120 kg/sqm. และ ระบบสวนหลังคารับน้ำหนัก (Intensive Green Roof) ระบบนี้จะเน้นการปลูกต้นไม้ชนิดไม้พุ่มสูง หรือไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ โดยปริมาณของดินที่ใช้จะค่อนข้างมาก และหน้างานต้องมีความลึกเพียงพอสำหรับการลงตุ้มต้นไม้ เพื่อให้รากยึดเกาะได้อย่างเหมาะสม โดยน้ำหนักของระบบจะขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ไม้ที่ใช้ โดยเฉพาะหากเป็นไม้ยืนต้น โครงสร้างหลังคาจะต้องมีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้

  1. การป้องกันน้ำรั่วซึม

ในการทำสวนดาดฟ้า เนื่องจากต้องมีการรดน้ำและมีการกักเก็บน้ำภายในแผ่นวัสดุปลูกต้นไม้ จึงทำให้ต้องคำนึงถึงการป้องกันน้ำรั่วซึม เพราะหากมีระบบกันซึมที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจก่อให้เกิดน้ำรั่วซึมในภายหหลัง และอาจต้องรื้อระบบสวนออกทั้งหมดเพื่อแก้ไข ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างไม่จำเป็น ดังนั้นระบบกันซึมที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างระบบกันซึมที่ใช้สำหรับระบบสวนดาดฟ้า ได้แก่ ระบบกันซึมชนิดแผ่น (Waterproofing Membrane) ที่มีความหนาเท่ากันทั่วทั้งแผ่น ทำให้สามารถติดตั้งได้อย่างง่ายดาย มีคุณสมบัติป้องกันน้ำรั่วซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนอกจากนี้ ระบบแผ่นกันซึมหลังคายังสามารถกันรากไม้ (Root and Rhizome Resistant) ไม่ให้ชอนไชลงสู่ตัวอาคาร ช่วยปกป้องอาคารเป็นอย่างดี

ตัวอย่างระบบแผ่นกันซึมหลังคา https://www.d1.co.th/fdt-waterproofing

ตัวอย่าง ระบบแผ่นกันซึมหลังคา (Waterproofing Membrane)

  1. การใช้ผลิตภัณฑ์แผ่นวัสดุปลูก

แผ่นวัสดุปลูก (Planting Tray) สำหรับสวนหลังคา จะถูกออกแบบมาเพื่อกักเก็บน้ำไว้ส่วนหนึ่ง (Retention) และระบายน้ำส่วนเกินออก (Drainage) เพื่อรักษาความสมดุลของปริมาณน้ำที่เหมาะสมสำหรับต้นไม้ โดยตัวแผ่นวัสดุปลูกจะต้องได้รับมาตรฐานที่เหมาะสม มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา และติดตั้งง่าย เพื่อระบบสวนหลังคาที่สมบูรณ์

สำหรับสวนดาดฟ้าเบา (Extensive Green Roof) ตัวแผ่นวัสดุปลูกจะมีขนาดมาตรฐานทั่วไปที่ กว้าง 50 cm. ยาว 50 cm. และสูง 3 cm. ซึ่งความสูงนี้จะเป็นส่วนของจุดรองรับน้ำ (Water Retention) ที่มีลักษณะเป็นหลุมเก็บน้ำบริเวณแผ่นวัสดุปลูก ให้มีการกักเก้บน้ำอย่างเหมาะสม เพื่อชดเชยการระเหยของน้ำที่รวดเร็วเมื่อเจออากาศร้อน รวมถึงช่วยกักเก็บน้ำฝนกรณีฝนตก ทำให้ประหยัดน้ำในการรดน้ำ ตัวอย่างระบบปลูก https://www.d1.co.th/green-roof

ECOTEC 30R/D แผ่นวัสดุปลูกสำหรับสวนหลังคาเบา

สำหรับสวนดาดฟ้ารับน้ำหนัก (Intensive Green Roof) ตัวแผ่นวัสดุปลูก จะเน้นไปที่การระบายน้ำได้ดี (Drainage) เนื่องจากปริมาณดินค่อนข้างมาก เมื่อมีการรดน้ำ หรือมีฝนตก ตัวแผ่นวัสดุปลูกจะทำหน้าที่เป็นตัวเพิ่มช่องว่างระหว่างชั้นดินและชั้นพื้นดาดฟ้า รวมถึงผนัง (กรณีความสูงดินมาก หรือทำ Planter Box) ตัวแผ่นวัสดุปลูกจึงมีลักษณะแบบตะแกรง มีช่องว่างสำหรับระบายน้ำ มีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักดินและต้นไม้ได้ดี ตัวอย่างระบบปลูก https://www.d1.co.th/green-roof

ECOTEC 30D แผ่นวัสดุปลูกสำหรับสวนหลังคารับน้ำหนักและ Planter Box

  1. การติดตั้งระบบน้ำ (Irrigation System)

ระบบน้ำสำหรับสวนดาดฟ้า ส่วนใหญ่นิยมสองระบบหลัก ได้แก่ ระบบสปริงเกอร์ (Sprinkler) และ ระบบน้ำหยด (Drip Irrigation) ทั้งนี้ระบบจะขึ้นอยู่กับพื้นที่หน้างาน ชนิดพันธุ์ไม้ รวมถึงความต้องการปริมาณน้ำในแต่ละพื้นที่ โดยหากมีพื้นที่ปริมาณมาก การรดน้ำจะแบ่งเป็นโซน (Zoning) เพื่อกำหนดวัน-เวลา และปริมาณน้ำที่ต้องการในแต่ละพื้นที่ ตัวอย่างเช่น หากมีพื้นที่ 700 ตรม. อาจแบ่งโซนการรดน้ำเป็น 6-8 โซน เพื่อให้ระบบสวนดาดฟ้ามีน้ำหล่อเลี้ยงต้นไม้อย่างเพียงพอ

ทั้งนี้ บริษัท ดีวันซิสเต็ม จำกัด รับออกแบบและติดตั้งระบบสวนดาดฟ้าอย่างครบวงจร

หากท่านใดสนใจหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่;

Tel: 02-0625580 E-mail: sales@d1.co.th

No items found.
Written By
Masassanan Pisudchaikul
fon@d1.co.th

Related posts

blog

view blog

Get a free quote

qoute

Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.